1. เงินโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา
ความเป็นมา
เงินโครงการอาหารกลางวัน กระทรวงศึกษาธิการเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 การดำเนินการ แต่ละโรงเรียนได้ดำเนินการในรูปแบบหลากหลายตามสภาพของโรงเรียน เช่น บางโรงเรียนอาจจัดอาหารขายให้ราคาถูก หรือบางโรงเรียนอาจให้นักเรียนสร้างผลผลิตการเกษตรมาสมทบใช้ในโครงการอาหารกลางวัน เพื่อเป็นการลดต้นทุนอาหาร ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลได้ประกาศพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ.2535 เพื่อนำดอกผลที่เกิดขึ้นจากกองทุนไปใช้แก้ปัญหาด้านโภชนาการของนักเรียนระดับประถมศึกษาในสถานศึกษาทุกสังกัด โดยในขณะที่ยังไม่ได้รับดอกผลหรือดอกผลที่ได้รับไม่เพียงพอ รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายนำไปช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารกลางวันและภาวะทุพโภชนาการของนักเรียน ในลักษณะเงินอุดหนุน
นอกจากนี้ เงินโครงการอาหารกลางวันยังได้รับการบริจาคจากภาคเอกชนต่าง ๆ และเรียกเก็บจาก
ผู้ปกครองนักเรียนซึ่งถือเป็นรายได้สถานศึกษา การดำเนินการเกี่ยวกับโครงการอาหารกลางวัน จากเงินที่ได้รับมาจากหลายแหล่ง ต้องปฏิบัติตามระเบียบ หลักเกณฑ์ ตามแหล่งที่มาของเงิน ประกอบกับการที่กระทรวงศึกษาธิการได้ปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2546 โดยรวมกรมสามัญศึกษา กรมวิชาการ และสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (เดิม) เป็นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) การรวมหน่วยงานดังกล่าว ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ทราบแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ดังนั้น จึงได้สรุปการดำเนินการเกี่ยวกับเงินโครงการอาหารกลางวันให้ทราบพอเป็นสังเขป ดังนี้
ประเภทของเงินโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนประถมศึกษา
1. เงินกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา
2. เงินอุดหนุนทั่วไปเพื่อโครงการอาหารกลางวัน (รับจาก อปท.)
3. เงินรายได้สถานศึกษา-เพื่อโครงการอาหารกลางวัน
รายละเอียดมีดังนี้
1. เงินกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา
(ทุนหมุนเวียนสำหรับส่งเสริมผลผลิตเพื่อโครงการอาหารกลางวัน)
เงินกองทุนโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (เดิม) เกิดจากพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ. 2535 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนหมุนเวียน และใช้จ่ายสำหรับสนับสนุนและช่วยเหลือภาวะโภชนาการของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา โดยกองทุนมีแหล่งที่มาของเงิน ดังนี้
1.1 ทุนประเดิมจากรัฐบาล โดยในวันที่พระราชบัญญัติกองทุนใช้บังคับ ปีงบประมาณ 2535 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติจัดสรรให้ จำนวน 300 ล้านบาท และตั้งแต่ปีงบประมาณ 2536 เป็นต้นไป ให้จัดสรรให้ปีละไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท จนกว่ากองทุนจะมีเงินรวมกันถึง 6,000 ล้านบาท ซึ่งกองทุนมีเงินครบตามจำนวนดังกล่าวแล้ว ในปีงบประมาณ 2543 และดอกผลที่เกิดจากกองทุนนำไปจัดสรรให้กับโรงเรียนประถมศึกษาเพื่อดำเนินการตามโครงการอาหารกลางวัน และส่วนหนึ่งนำไปจัดหาผลประโยชน์ เช่น ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติ ซึ่งได้รับดอกเบี้ยทุกปี
1.2 เงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี
1.3 เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่มีผู้บริจาคให้
1.4 ดอกผลที่เกิดจากกองทุน
การขอรับเงินจากกองทุนโครงการอาหารกลางวัน ส่วนราชการ คือ สพฐ. เป็นผู้ขอรับจากสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางในการบริหารจัดการเงินกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันโดย สพฐ. ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) เป็นผู้รวบรวมข้อมูลนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ และนักเรียนขาดแคลนอาหารกลางวัน ส่งข้อมูลผ่านตามลำดับชั้น เงินกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา นอกจากจะจัดสรรให้เป็นค่าอาหารกลางวันแล้ว ยังจัดสรรให้เป็นทุนหมุนเวียนสำหรับส่งเสริมผลผลิตเพื่อโครงการอาหารกลางวัน และการขอรับการจัดสรร โรงเรียนจะต้องนำเสนอโครงการผ่านหน่วยงานต้นสังกัดตามลำดับชั้น
2. เงินอุดหนุนทั่วไปเพื่อโครงการอาหารกลางวัน (รับจาก อบท.)
เป็นเงินที่รัฐบาลจัดสรรให้ในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป เพื่อดำเนินการโครงการอาหารกลางวัน ซึ่งเริ่มจัดสรรให้นักเรียนระดับประถมศึกษา ตั้งแต่ปีประมาณ 2535 ส่วนระดับก่อนประถมศึกษาได้รับจัดสรรเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2536 โดยสำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ขอตั้งงบประมาณ จัดสรร และโอนเงินงบประมาณผ่านสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอไปยังโรงเรียน ต่อมาตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 30 (1) กำหนด ให้ดำเนินการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เงินอุดหนุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา จึงได้ถ่ายโอนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในปีงบประมาณ 2544 ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการบริหารงบประมาณตามโครงการถ่ายโอนงาน/กิจกรรม บริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544
การรับโอนเงิน กรมการปกครอง เป็นผู้โอนเงินให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโอนจัดสรรต่อให้กับโรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการตามโครงการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งเป็นผู้ดำเนินการจัดหาอาหารให้กับโรงเรียนเอง
3. เงินรายได้สถานศึกษา-เพื่อโครงการอาหารกลางวัน
เงินรายได้สถานศึกษา-เพื่อโครงการอาหารกลางวัน ในที่นี้หมายถึง เงินที่มีผู้มอบให้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโครงการอาหารกลางวัน หรือเป็นเงินที่ได้รับจากการขายอาหารหรือเรียกเก็บค่าอาหารจากผู้ปกครองนักเรียน (เดิมถือเป็นเงินบำรุงการศึกษา) ซึ่งถือว่าเป็นเงินที่มีผู้มอบให้โดยมีวัตถุประสงค์ชัดแจ้ง การใช้จ่ายและก่อหนี้ผูกพันให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้มอบให้ คือ เพื่อโครงการอาหารกลางวัน
กรณีไม่ระบุวัตถุประสงค์ ถือเป็นเงินรายได้สถานศึกษา การก่อหนี้ผูกพันและการใช้จ่ายเงินถือปฏิบัติตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2549 โดยให้ไปใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้ แต่เฉพาะเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษานั้
การใช้จ่ายเงิน
การใช้จ่ายเงินเพื่อโครงการอาหารกลางวัน จากเงินกองทุนโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา และเงินอุดหนุนทั่วไปจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของเงินเพื่อช่วยเหลือภาวะ
โภชนาการ และนักเรียนที่ไม่มีอาหารกลางวันรับประทาน (นักเรียนขาดแคลน) ดังนั้น โรงเรียนควรนำเงินไปจัดอาหารกลางวัน อาหารเสริม ซึ่งการใช้จ่ายอยู่ในลักษณะ ดังนี้
1) รายจ่ายประเภทค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ
2) รายจ่ายประเภท ค่าครุภัณฑ์ ราคาไม่เกินหน่วยละ 20,000 บาท
3) รายจ่ายประเภท ค่าจ้างบุคคลภายนอก ประกอบอาหาร
4) รายจ่ายประเภทค่าครุภัณฑ์ ราคาเกินหน่วยละ 20,000 บาท หรือรายจ่ายประเภทอื่น ๆ
นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการสำหรับเงินรายได้สถานศึกษา–เพื่อโครงการอาหารกลางวัน การก่อหนี้ผูกพันและการใช้จ่ายให้ถือปฏิบัติตาม “ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าด้วยการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล
ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2549”
การเบิกจ่ายค่าอาหารนักเรียน
ด้วย งบประมาณเงินอุดหนุน ได้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อจัดอาหารให้กับนักเรียน ไม่ว่าจะเป็นการจัดอาหารกลางวัน หรือการจัดอาหารสำหรับนักเรียนประจำ ซึ่งตามหลักเกณฑ์การใช้จ่ายงบประมาณงบเงินอุดหนุนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (หนังสือที่ ศธ 04006/2279 ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2548 ) สถานศึกษาได้รับงบประมาณดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ ดังนี้
1. จัดซ้อวัตถุดิบมาประกอบอาหาร
2. จ้างเหมาทำอาหาร
3. จ่ายเงินสดให้นักเรียนโดยตรง
การจัดซื้อ/จัดจ้าง ตามข้อ 1 หรือ 2 สถานศึกษาสามารถดำเนินการจัดหาในคราวเดียวกันกับเงินรายได้สถานศึกษาประเภทเงินอาหารกลางวัน โดยปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
สำหรับการจ่ายเงินสดให้นักเรียนโดยตรงตามข้อ 3 สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการอย่างน้อย 3 คน ร่วมกันจ่ายเงิน โดยใช้ใบสำคัญรับเงินเป็นหลักฐานการจ่าย
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
* หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนมาก ที่ กค 0514/6389 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2537
เรื่อง การใช้จ่ายเงินอุดหนุนทั่วไป โครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษาและโครงการอาหารกลางเด็กก่อนประถมศึกษา
* หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ศธ 04006/2279
ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2548 เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการใช้จ่ายงบประมาณ งบเงินอุดหนุน
* ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
* ระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังในหน้าที่ของอำเภอและกิ่งอำเภอ พ.ศ. 2520
* ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551
* หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0409.6/ว 126 ลงวันที่ 7 กันยายน 2548 เรื่อง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ งบเงินอุดหนุน
ขั้นตอนการดำเนินการและเอกสารประกอบการเบิกจ่าย
กรณีที่ 1 การจัดซื้อวัตถุดิบมาประกอบอาหาร
1.1 การจัดซื้อวัตถุดิบประจำวัน
ขั้นตอนการดำเนินการ
* เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเรื่องอาหารนักเรียน ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยจัดทำรายงานขอซื้อวัสดุ (วัตถุดิบสำหรับประกอบอาหาร) พร้อมแต่งตั้งผู้ตรวจรับพัสดุหรือคณะกรรมการตรวจรับพัสดุตามแบบใบจัดซื้อวัสดุเครื่องบริโภค (ตามตัวอย่าง) ยื่นต่อเจ้าหน้าที่พัสดุของสถานศึกษา
* เจ้าหน้าที่พัสดุของสถานศึกษา ตรวจสอบความถูกต้องตามรายละเอียดในใบจัดซื้อวัสดุเครื่องบริโภค เสนอต่อผู้อำนวยการโรงเรียนพิจารณาอนุมัติ และใช้เป็นหลักฐานการจ่ายในแต่ละวัน
เอกสารประกอบการเบิกจ่าย
* ใบจัดซื้อวัสดุเครื่องบริโภค
1.2 การยืมเงินเพื่อสำรองจ่ายในการจัดทำอาหาร
ขั้นตอนการดำเนินการ
* เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเรื่องอาหารนักเรียน ทำสัญญาการยืมเงิน
พร้อมด้วยประมาณการค่าใช้จ่ายเพื่อใช้สำรองจ่ายในการจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อประกอบอาหารในแต่ละวัน ยื่นต่อเจ้าหน้าที่การเงิน
* เจ้าหน้าที่การเงิน ตรวจสอบความถูกต้อง เสนอผู้อำนวยการโรงเรียนเพื่อพิจารณาอนุมัติ
* เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเรื่องอาหารนักเรียน ดำเนินการการจัดซื้อวัตถุดิบ
เพื่อประกอบอาหารแต่ละวัน โดยใช้แบบใบจัดซื้อวัสดุเครื่องบริโภคและดำเนินการเหมือนข้อ 1.1
* เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเรื่องอาหารนักเรียน รวบรวมใบจัดซื้อวัสดุเครื่องบริโภคของแต่ละวันไว้ เมื่อครบกำหนดตามสัญญาการยืมเงิน จึงรวบรวมหลักฐานการจ่ายทั้งหมด พร้อมด้วยเงินสดคงเหลือ (ถ้ามี) เพื่อส่งใช้เงินยืม ภายใน 30 วัน นับแต่วันรับเงิน
เจ้าหน้าที่หารเงินตรวจสอบหลักฐานถูกต้อง และเสนอผู้อำนวยการโรงเรียนพิจารณาอนุมัติการล้างลูกหนี้เงินต่อไป
เอกสารประกอบการเบิกจ่าย
* สัญญาการยืมเงิน
* ใบจัดซื้อวัสดุเครื่องบริโภค
กรณีที่ 2 การจ้างเหมาทำอาหาร
2.1 จ้างเหมาทำอาหาร
ในกรณีสถานศึกษาจ้างเหมาบุคคลภายนอกจัดทำอาหารสำหรับนักเรียน
ต้องดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หากวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท สามารถดำเนินการโดยวิธีตกลงราคา หากสถานศึกษาดำเนินการจัดจ้างราคาเกิน 100,000 บาท ต้องดำเนินการตามวิธีสอบราคา หรือประกวดราคา
ขั้นตอนการดำเนินการ การจัดจ้างโดยวิธีตกลงราคา ดำเนินการดังนี้
2.1.1 เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำรายงานเสนอขออนุมัติจัดจ้างบุคคลภายนอกทำอาหารต่อผู้อำนวยการโรงเรียน พร้อมทั้งแต่งตั้งผู้ตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (ตามตัวอย่าง)
2.1.2 เมื่อผู้อำนวยการโรงเรียนอนุมัติแล้ว จึงจัดทำข้อตกลงเป็นหนังสือโดยระบุรายเอียด
เกี่ยวกับการจัดทำอาหาร ระยะเวลา จำนวนนักเรียน ตามที่สถานศึกษาต้องการพร้อมทั้งเงื่อนไขการ
ชำระเงิน ซึ่งสามารถทำข้อตกลงจ้างตลอดภาคเรียนได้ โดยกำหนดเงื่อนไขการชำระเงินเป็นรายวัน
หรือรายสัปดาห์ หรือรายเดือน หรือจะชำระครั้งเดียวเมื่อผู้รับจ้างจัดทำอาหารแล้วเสร็จตามสัญญาก็ได้
และต้องระบุค่าปรับเป็นรายวันเป็นจำนวนเงินตายตัวเป็นอัตราร้อยละ 0.01 ถึง 0.10 ของราคาจ้าง
แต่ต้องไม่ต่ำกว่าวันละ 100 บาท (ตามตัวอย่าง)
2.1.3 ผู้ตรวจรับพัสดุหรือคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ตรวจรับทุกวันที่ผู้รับจ้างจัดทำอาการส่งมอบให้สถานศึกษา โดยใช้แบบตรวจรับพัสดุ (ตามตัวอย่าง)
2.1.4 เมื่อผู้รับจ้างจัดทำอาหารแล้วเสร็จตามข้อตกลง ให้จัดทำเอกสารส่งมอบพัสดุ เพื่อให้ผู้ตรวจรับพัสดุหรือคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ดำเนินการตรวจรับ (ตามตัวอย่าง)
2.1.5 เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเรื่องอาหารนักเรียนบันทึกขออนุมัติเบิกจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้าง โดยใช้ใบเสร็จรับเงิน/ใบสำคัญรับเงินเป็นหลักฐานการจ่าย
เอกสารประกอบการเบิกจ่าย
1. รายงานขอจ้าง
2. บันทึกตกลงจ้าง
3. ใบตรวจรับพัสดุ
4. ใบเสร็จรับเงิน/ใบสำคัญรับเงิน
2.2 กรณีจ้างบุคคลภายนอกมาประกอบอาหาร
ขั้นตอนการดำเนินการ กรณีที่สถานศึกษาจัดซื้อวัตถุดิบมาทำอาหารแต่จ้างบุคคลภายนอก
เป็นผู้ประกอบอาหาร
2.2.1 การจัดซื้อวัตถุดิบมาประกอบอาหารให้ดำเนินการจัดซื้อเหมือนกรณี
การจัดซื้อวัตถุดิบมาประกอบอาหาร กรณีที่ 1
2.2.2 การจ้างบุคคลมาประกอบอาหาร ให้ดำเนินการเหมือนกรณีจ้างเหมาทำอาหาร
กรณีที่ 2 (ตามตัวอย่าง)
กรณีที่ 3 จ่ายเงินสดให้นักเรียนโดยตรง
ขั้นตอนการดำเนินการ กรณีสถานศึกษาที่ไม่ได้จัดทำอาหารให้นักเรียนสามารถจ่ายเงินสด
ให้นักเรียนโดยตรงได้ โดยปฏิบัติดังนี้
3.1 เจ้าหน้าที่การเงินจัดทำบันทึกขออนุมัติจ่ายเงินต่อผู้อำนวยการโรงเรียน
พร้อมทั้งเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการจ่ายเงินอย่างน้อย 3 คน (ตามตัวอย่าง)
3.2 ใช้แบบใบสำคัญรับเงินให้นักเรียนลงลายมือชื่อรับเงินเป็นหลักฐานการจ่าย
(ตามตัวอย่าง)
เอกสารประกอบการเบิกจ่าย
1. บันทึกขออนุมัติจ่ายเงิน
2. ใบสำคัญรับเงิน

บันทึกข้อความ
ส่วนราชการ โรงเรียน.............................................................................................................
ที่...........................................................วันที่............................................................................
เรื่อง รายงานขอจ้างเหมาทำอาหาร/จ้างบุคคลประกอบอาหาร
..................................................................................................................................................................................
เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียน......................................................................
ด้วยโรงเรียน................................มีความจำเป็นขอ ( ) จ้างเหมาทำอาหาร ( ) จ้างบุคคลประกอบอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนรับประทานวันที่ .............เดือน.............................พ.ศ.................... ถึงวันที่ ............เดือน..................พ.ศ.................... จึงรายงานขอจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามข้อ 27 และขอดำเนินการจ้างโดยวิธีตกลงราคา ตามข้อ 19 และข้อ 39 จากเงินนอกงบประมาณประเภทเงินอุดหนุน โครงการ................................................................เป็นเงิน.................บาท ดังนี้
ที่
|
รายการ
|
จำนวน
หน่วย
|
ราคามาตรฐานหรือราคากลาง
|
จำนวนเงิน ที่ขอจ้าง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
(...............................................................)
|
|
รวมเงินทั้งสิ้น
|
|
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
1. ให้ความเห็นชอบ
2. แต่งตั้ง ( ) คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ( ) ผู้ตรวจรับ ดังนี้
2.1) .....................................ระดับ...................... ประธานกรรมการ/ผู้ตรวจรับ
2.2 ) .....................................ระดับ.......................กรรมการ
2.3 ) .....................................ระดับ.......................กรรมการ
(ลงชื่อ) ………………………………….. เจ้าหน้าที่พัสดุ - เห็นชอบ
(ลงชื่อ) ………………………………….. หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ - อนุมัติ..........................
(ลงชื่อ) ………………………………….. รอง.ผอ.โรงเรียน (ลงชื่อ)...........................…….. (……….……….………..)
ตำแหน่ง…..….………………..
วันที่.........................................
(จ้างเหมาทำอาหาร)
บันทึกตกลงจ้าง
เขียนที่..............................................
วันที่........................................
บันทึกตกลงจ้างนี้ทำขึ้นเพื่อแสดงว่า นาย/นาง/นางสาว....................................................................
ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน...............................................ผู้ได้รับมอบหมายอำนาจจากเลขาธิการคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ *22/2546 สั่ง ณ วันที่ 8 กรกฎาคม
2546 ซึ่งเรียกว่า “ผู้ว่าจ้าง” ฝ่ายหนึ่ง กับ......................................................อยู่ที่.....................................................
ซึ่งเรียกว่า “ผู้รับจ้าง” อีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายมีข้อตกลง ดังนี้
1. ผู้ว่าจ้างตกลงจ้างและผู้รับจ้างตกลงรับจ้างทำอาหารให้นักเรียน จำนวน.............คน รับประทานระหว่างวันที่...............เดือน.....................พ.ศ. ...............ถึงวันที่...........เดือน.................พ.ศ. ...........รวม............วัน เป็นเงิน.....................บาท (........................................................)
2. ผู้รับจ้างต้องทำอาหารและส่งมอบให้ผู้ว่าจ้าง โดยจัดให้นักเรียนรับประทานที่โรงเรียนในวันที่เปิดทำการเรียนการสอนในเวลา...............น. และต้องจัดอาหารให้เพียงพอสำหรับนักเรียน จำนวน................... คน โดยผู้รับจ้างต้องจัดอาหารให้ไม่น้อยกว่าวันละ....................อย่าง โดยผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบในการประกอบอาหาร ซึ่งอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้วต้องประกอบไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและเหมาะสมกับภาวะสุขภาพของนักเรียน
3. ถ้าผู้รับจ้างไม่ส่งมอบพัสดุตามข้อ 2 ผู้รับจ้างยอมชำระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างในอัตราวันละ................บาท (........................................................) กรณีดังกล่าวผู้ว่าจ้างอาจยกเลิกข้อตกลงที่มีปัญหาได้โดยที่ผู้รับจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น
4. หาวันใดสถานศึกษาหยุดทำการเรียนการสอนนอกเหนือจากวันหยุดปกติ ผู้ว่าจ้างต้องแจ้งผู้รับจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 วัน
5. การชำระเงินผู้ว่าจ้างจะชำระเงินให้แก่ผู้รับจ้างเป็นงวด ๆ ............................. (ทุกวัน/ทุกสัปดาห์/ทุกเดือน)
เมื่อผู้รับจ้างได้ปฏิบัติงานแล้วเสร็จตามบันทึกตกลงจ้าง
ข้อตกลงนี้จัดทำขึ้น 2 ฉบับ ข้อความถูกต้องตรงกัน เก็บไว้ที่ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง ฝ่ายละ 1 ฉบับ
ลงชื่อ.................................................ผู้ว่าจ้าง
(...............................................)
ลงชื่อ.................................................ผู้รับจ้าง
(...............................................)
ลงชื่อ.................................................พยาน
(...............................................)
ลงชื่อ.................................................พยาน
(...............................................)
หมายเหตุ * กรณีจ่ายจากเงินรายได้สถานศึกษาให้อ้างคำสั่งมอบอำนาจที่ 1505/2551
สั่ง ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
(จ้างประกอบอาหาร)
บันทึกตกลงจ้าง
เขียนที่.........................................
วันที่...............................................
บันทึกตกลงจ้างนี้ทำขึ้นเพื่อแสดงว่า นาย/นาง/นางสาว....................................................................
ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน...............................................ผู้ได้รับมอบหมายอำนาจจากเลขาธิการคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ *22/2546 สั่ง ณ วันที่ 8 กรกฎาคม
2546 ซึ่งเรียกว่า “ผู้ว่าจ้าง” ฝ่ายหนึ่ง กับ......................................................อยู่ที่.....................................................
ซึ่งเรียกว่า “ผู้รับจ้าง” อีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายมีข้อตกลง ดังนี้
1. ผู้ว่าจ้างตกลงจ้างและผู้รับจ้างตกลงรับจ้างประกอบอาหารให้นักเรียนรับประทานระหว่างวันที่...............เดือน.....................พ.ศ. ...............ถึงวันที่...........เดือน.................พ.ศ. ...........รวม............วัน โดยผู้ว่าจ้าง
เป็นผู้จัดหาวัตถุดิบในการประกอบอาหารเอง
2. ผู้รับจ้างต้องประกอบอาหารและส่งมอบให้ผู้ว่าจ้าง โดยจัดให้นักเรียนรับประทานที่โรงเรียนในวันที่เปิดทำการเรียนการสอนในเวลา...............น. ตามรายการอาหารที่ผู้ว่าจ้างกำหนดในแต่ละวัน
3. ถ้าผู้รับจ้างไม่ส่งมอบพัสดุตามข้อ 2 ผู้รับจ้างยอมชำระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างในอัตราวันละ................บาท (........................................................) กรณีดังกล่าวผู้ว่าจ้างอาจยกเลิกข้อตกลงที่มีปัญหาได้โดยที่ผู้รับจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น
4. ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้างในอัตราวันละ................บาท (........................................)
5. การชำระเงินผู้ว่าจ้างจะชำระเงินให้แก่ผู้รับจ้าง............................. (ทุกวัน/ทุกสัปดาห์/ทุกเดือน)
เมื่อผู้รับจ้างได้ปฏิบัติงานแล้วเสร็จตามบันทึกตกลงจ้าง
ข้อตกลงนี้จัดทำขึ้น 2 ฉบับ ข้อความถูกต้องตรงกัน เก็บไว้ที่ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง ฝ่ายละ 1 ฉบับ
ลงชื่อ.................................................ผู้ว่าจ้าง
(...............................................)
ลงชื่อ.................................................ผู้รับจ้าง
(...............................................)
ลงชื่อ.................................................พยาน
(...............................................)
ลงชื่อ.................................................พยาน
(...............................................)
หมายเหตุ * กรณีจ่ายจากเงินรายได้สถานศึกษาให้อ้างคำสั่งมอบอำนาจที่ 1505/2551
สั่ง ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
บันทึกข้อความ
ส่วนราชการ...............................................................................................................................................................
ที่.........................................................................วันที่................................................................................................
เรื่อง ขออนุมัติจ่ายเงินค่าอาหารกลางวัน
...............................................................................................................................................................................
เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียน.......................................
ตามที่โรงเรียน.....................................................ได้รับงบประมาณเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐาน เป็น
( ) ค่าอาหารกลางวัน ( ) ค่าอาหารนักเรียนพักนอน ให้นักเรียน จำนวน............คน นั้น
........................................................................(ให้ระบุชื่อกลุ่ม/ฝ่ายที่รับผิดชอบ) พิจารณาแล้ว
จึงขออนุมัติเบิกเงินเพื่อจ่ายให้นักเรียนจำนวน.........คน (ตามรายชื่อนักเรียนดังแนบ) ระหว่างวันที่.......เดือน........พ.ศ. ...................คนละ..................บาท ถึงวันที่.........เดือน.....................พ.ศ. ..............เป็นเงิน....................บาท (.................................................)
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
1. อนุมัติให้จ่ายเงิน
2. แต่งตั้งคณะกรรมการจ่ายเงิน ตามหลักเกณฑ์การใช้จ่ายงบประมาณ งบเงินอุดหนุนของ
สำนักงานคณะกรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
ชื่อ.................................ตำแหน่ง....................ประธานกรรมการ
ชื่อ.................................ตำแหน่ง.................... กรรมการ
ชื่อ.................................ตำแหน่ง.....................กรรมการ
ลงชื่อ.........................................เจ้าหน้าที่การเงิน
(.......................................)
- เห็นชอบ
- อนุมัติ
ลงชื่อ....................................
(..................................)
ตำแหน่ง..............................
วันที่....................................
ใบตรวจรับพัสดุ
เขียนที่.............................................
ตามที่โรงเรียน.........................................................ได้ตกลงจ้าง....................................................ประกอบอาหาร ( ) เช้า ( ) กลางวัน ( ) เย็น ให้กับนักเรียนรับประทาน ตามบันทึกตกลงจ้างลงวันที่ ..................
บัดนี้ ผู้รับจ้างได้ส่งมอบพัสดุทุกวันตามข้อตกลง และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ตรวจรับไว้ถูกต้องตามบันทึกตกลงจ้างแล้ว ดังนี้
วัน เดือน ปี
|
รายการอาหาร
|
ลายมือชื่อ
ผู้ส่งมอบงาน
|
ลายมือชื่อผู้ตรวจรับพัสดุ
หรือคณะกรรมการ
ตรวจรับพัสดุ
|
|
|
|
1.......................2........................3....................
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียน........................................
เพื่อโปรดทราบผลการตรวจรับพัสดุ และขออนุมัติจ่ายเงินให้ผู้รับจ้าง งวดวันที่...............
เดือน..................พ.ศ......................... ถึงวันที่.................. เดือน..........................พ.ศ........................
เป็นเงิน...........................บาท (...........................................................................)
ลงชื่อ.........................................เจ้าหน้าที่พัสดุ
(.......................................)
- เห็นชอบ
- อนุมัติ
ลงชื่อ....................................
(..................................)
ตำแหน่ง..............................
วันที่....................................
ใบสำคัญรับเงิน
ที่........................................................
วันที่..............เดือน...................................พ.ศ. ...........
ข้าพเจ้า...............................................................อยู่บ้านเลขที่......................หมู่ที่.....................
ถนน.................................ตำบล.............................อำเภอ................................จังหวัด......................................
ได้รับเงินจาก.....................................................................................................................................................
รายการ
|
จำนวนเงิน
|
บาท
|
สต.
|
ได้รับเงินค่าจ้าง ( ) ทำอาหาร ( ) ประกอบอาหาร
ตั้งแต่วันที่.......เดือน...............พ.ศ.................
ถึงวันที่.........เดือน..............พ.ศ................
รวม.............วัน
(นักเรียน........คน X 13 X………วัน) เป็นเงิน
|
|
|
รวมเงิน
|
|
|
จำนวนเงิน ( ตัวอักษร) ..........................................................................
(ลงชื่อ)..........................................ผู้รับเงิน
(..........................................)
(ลงชื่อ)..........................................ผู้จ่ายเงิน
(..........................................)
หมายเหตุ ผู้รับเงินแนบสำเนาบัตรประชาชน,สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาทุกครั้งที่รับเงิน
วิธีการรับ การจ่าย การเก็บรักษา และการบันทึกบัญชี
การรับเงิน
เงินที่สถานศึกษาได้รับมาเพื่อดำเนินการตามโครงการอาหารกลางวันจากแหล่งที่มาของเงินทั้ง 3 แห่ง ให้สถานศึกษาออกใบเสร็จรับเงินตามแบบที่ทางราชการกำหนด ให้แก่ผู้จ่ายเงินทุกครั้ง และต้องควบคุมใบเสร็จรับเงินให้สามารถตรวจสอบได้
การจ่าย
เมื่อนำเงินไปเพื่อดำเนินการใด ๆ จะต้องมีหลักฐานการจ่ายครบถ้วนโดย กรณีซื้ออาหารสดมาเพื่อประกอบอาหาร ถ้าจำนวนเงินเล็กน้อยอาจใช้ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน กรณีซื้ออาหารสดและอาหารแห้งในปริมาณมากให้ใช้ใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐาน หากเป็นร้านค้าที่ไม่มีใบเสร็จรับเงินให้ลงลายมือชื่อในใบสำคัญรับเงิน และการจ่ายเงินนอกจากจะจ่ายเป็นเงินสดเพื่อนำไปซื้ออาหารสด อาหารแห้ง หรือจ่ายให้กับผู้รับจ้างทำอาหารแล้ว ยังมีวิธีการยืมเงินจากโครงการเพื่ออาหารกลางวัน เพื่อนำมาทดรองจ่าย ซึ่งดำเนินการได้โดย
1. ทำสัญญายืมเงินไม่เกิน 30 วัน
2. วงเงินยืมไม่เกินความจำเป็นโดยให้เพียงพอจ่าย สำหรับ 5 วันทำการ (1 สัปดาห์) เมื่อเงินใกล้หมดให้เบิกชดเชยใบสำคัญโดยไม่ต้องส่งคืนเงินยืม และให้ส่งคืนเงินยืมเมื่อครบ 30 วัน
การเก็บรักษา
โรงเรียนสามารถเก็บรักษาเงินสดไว้เพื่อสำรองจ่าย โดยการเก็บเงินสดให้เก็บในตู้นิรภัย สำหรับโรงเรียนที่ไม่มีตู้นิรภัยให้ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้เก็บรักษา และจัดทำบันทึกการรับเงินมอบให้ เจ้าหน้าที่การเงินโรงเรียนไว้เป็นหลักฐานและส่งคืนเงินให้เจ้าหน้าที่การเงินโรงเรียนเพื่อจ่ายในวันทำการถัดไป (ยกเว้นเงินรายได้สถานศึกษาให้เก็บเงินสดเพื่อสำรองจ่ายไว้เฉพาะกรณีที่มีตู้นิรภัยเท่านั้น) โดยวงเงินเก็บรักษา เป็นดังนี้
1. เงินอุดหนุนที่ได้รับจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เก็บรักษาเงินสดไว้ ณ ที่ทำการได้วงเงินไม่เกิน 20,000 บาท เงินฝากธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจในวงเงินไม่เกิน 200,000 บาท ส่วนที่เหลือนำฝาก สพท. เพื่อนำฝากคลัง
อนึ่ง เงินที่ได้รับเป็นของปีงบประมาณใด ให้จ่ายภายในปีงบประมาณนั้นหรืออย่างช้าภายในปีงบประมาณถัดไป รวมแล้วถ้าเกินสองปีงบประมาณ ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
2. เงินรายได้สถานศึกษา ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0414/07509 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2549 ซึ่งแจ้งตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ศธ 04002/383 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2549 มีหลักการดังนี้
2.1 เงินรายได้สถานศึกษาอื่น (เงินบำรุงการศึกษาเดิม เงินผลประโยชน์ที่ราชพัสดุ เงินค่าปรับ ฯลฯ) ให้แต่ละหน่วยงาน มีวงเงินสำรองจ่าย ณ ที่ทำการ และวงเงินฝากธนาคาร โดยยึดจำนวนนักเรียนวงเงินสำรองจ่าย ณ ที่ทำการ วงเงินฝากธนาคาร ไม่เกินวันละ
- โรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนไม่เกิน 120 คน 20,000 บาท ไม่เกิน 30,000 บาท
- โรงเรียนที่มีนักเรียนเกิน 120 คนขึ้นไป 30,000 บาท ไม่เกิน 1 ล้านบาท
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 100,000 บาท ไม่เกิน 5 ล้านบาท
- ส่วนที่เกินให้นำฝากคลัง
(เงินรายได้สถานศึกษาให้เก็บเงินสดเพื่อสำรองจ่ายไว้เฉพาะกรณีที่มีตู้นิรภัยเท่านั้น)
2.2 เงินกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา ซึ่งเดิมเป็นเงินบำรุงการศึกษา และเงินบริจาคเพื่ออาหารกลางวัน ซึ่งเป็นเงินรายได้สถานศึกษา ที่มิได้มาจากเงินงบประมาณ
ให้สถานศึกษาที่จัดอาหารบริการให้กับนักเรียน เก็บรักษาเงินสดไว้ ณ สถานศึกษาได้เพิ่มจากเงินรายได้สถานศึกษาอื่น วันละไม่เกิน 20,000 บาท
การบันทึกบัญชี
1. โรงเรียนขนาดใหญ่ที่จัดทำบัญชีตามระบบบัญชีหน่วยงานย่อย พ.ศ. 2515 ให้บันทึกควบคุมเงิน
ที่ได้รับในสมุดเงินสดแบบหลายช่อง พร้อมบันทึกรายการในทะเบียนคุมรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง
2. โรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็กที่จัดทำระบบควบคุมเงินของหน่วยงานย่อย พ.ศ. 2544
เมื่อโรงเรียนได้รับเงิน ให้บันทึกควบคุมในทะเบียนคุมเงินนอกงบประมาณ โดยแบ่งตามแหล่งที่มาของเงิน
ทุกวันทำการโรงเรียนต้องจัดทำรายงานเงินคงเหลือประจำวัน เสนอกรรมการเก็บรักษาเงินและรายงาน
ให้หัวหน้าหน่วยงานทราบ และ ณ วันสิ้นเดือนให้ส่งสำเนารายงานเงินคงเหลือประจำวันให้ สพท. ด้วยเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ
วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับดอกผลของเงินเพื่อโครงการอาหารกลางวัน
1. เงินกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวัน
ให้เปิดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์กับธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ หรือธนาคารพาณิชย์กรณีที่ไม่มีธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ชื่อบัญชี “กองทุนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียน............” ดอกผลที่เกิดจากบัญชีเงินฝากธนาคาร ให้โรงเรียนเก็บสมทบไว้เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุนเพื่อใช้จ่ายต่อไป โดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
2. เงินอุดหนุนทั่วไป ที่รับจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ดอกผลที่เกิดจากเงินฝากธนาคารเงินอุดหนุน ให้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน โดยถือปฏิบัติตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0406.3/ว 59 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2552
3. เงินรายได้สถานศึกษา–เพื่อโครงการอาหารกลางวัน
ให้นำฝากธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจในท้องที่ หากท้องที่นั้นไม่มีธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ให้นำฝากธนาคารพาณิชย์อื่นภายในท้องที่อำเภอเดียวกันได้ สำหรับประเภทเงินฝาก ให้อยู่ในดุลพินิจของแต่ละหน่วยงาน ดอกผลที่เกิดจากเงินรายได้สถานศึกษา–เพื่อโครงการอาหารกลางวัน ก็ย่อมถือเป็นเงินรายได้สถานศึกษาเพื่อการนั้น